แชร์
แนะนำธุรกิจ ยูไลฟ์ ให้เพื่อน
เพื่อเปิดโอกาสสร้างรายได้กับแผนธุรกิจ ไลฟ์แม็ก พลัส
ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เสี่ยงเป็นเบาหวานไม่รู้ตัว
หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่า ‘น้ำตาลในเลือด’ คืออะไร ทำไมหลายคนถึงกลัวกันหนักหนา โดยเฉพาะเมื่อไหร่ที่ทานของหวานยิ่งต้องระวัง จนเกิดคำถามว่าของหวานมีผลกับน้ำตาลในเลือดยังไง มาไขข้อสงสัยว่าน้ำตาลที่อยู่ในเลือดคืออะไร อันตรายต่อสุขภาพอย่างไร พร้อมวิธีดูแลสุขภาพให้อยู่ร่วมกับของหวานที่แสนอร่อยได้อย่างปลอดภัย ไกลโรค
น้ำตาลในเลือดคืออะไร?
น้ำตาลในเลือด คือ ความเข้มข้นของระดับกลูโคส (น้ำตาล) ในเลือด ซึ่งกลูโคสถือเป็นแหล่งพลังงานหลักของเซลล์ในร่างกายและเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในเลือดของมนุษย์ โดยธรรมชาติแล้วร่างกายของเราจะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างเข้มงวด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาสมดุลในร่างกาย (Homeostasis)
ทำไมยิ่งสูงยิ่งน่ากลัว?
น้ำตาลในเลือดสูง (Hyperglycemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งมักมีสาเหตุตั้งต้นจากอาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีรสชาติ ‘หวานนำ’ และเนื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง เป็นอีกหนึ่งภาวะที่ค่อยๆ แสดงอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป จนส่งผลต่อประสิทธิภาพของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ที่รับบทหนักในการควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดทั่วทั้งร่างกาย
อาจสรุปได้ว่า หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นกว่าปกติ ก็เป็นข้อบ่งชี้ได้ว่าเรากำลังเผชิญหน้ากับโรคเบาหวาน ซึ่งเซลล์ในร่างกายมีความผิดปกติในกระบวนการเปลี่ยนน้ำตาลที่อยู่ในเลือดให้เป็นพลังงาน และเมื่อน้ำตาลเหล่านี้ไม่ได้ถูกใช้ ระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดจึงสูงขึ้นจนผิดปกตินั่นเอง
เปิดความสัมพันธ์ ‘อินซูลิน’ กับ ‘ความหวาน’
หากพูดถึงตำแหน่งสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ชื่อของฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) อาจเป็นชื่อที่เราต้องเคยได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ทุกครั้งที่รับประทานอาหาร หรืออะไรก็ตามที่มีความหวานเข้าไป ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินออกมาเพื่อพาน้ำตาลเหล่านั้นไปกระจายเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อมัดต่างๆ และนำไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ...แล้วทำไมเราถึงยังเสี่ยงมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงได้ ?
1. กินหวานซ้ำซาก ทำประสิทธิภาพอินซูลินลดลง
จริงอยู่ที่อินซูลินมีหน้าที่สำคัญในการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อมัดต่างๆ เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดให้มีความสมดุลแต่เมื่อไรก็ตามที่เรารับประทาน อาหาร ขนม หรือเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลสูงๆ ร่างกาย จะสั่งให้ฮอร์โมนอินซูลินหลั่งออกมาในปริมาณที่มากกว่าเดิม เพื่อไล่เก็บน้ำตาลที่กำลังหลั่งไหลเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็ว ทำให้เราเริ่มรู้สึกหิวเร็วกว่าปกติและโหยหาของหวานมากขึ้นไปอีก และอาจเข้าสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลินในที่สุด
2. พฤติกรรมเดิมๆ เพิ่มเติมคือดื้ออินซูลิน
หลายคนอาจจะเคยได้ยินภาวะดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) ซึ่งเป็นภาวะที่อินซูลินไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดได้อีกต่อไปซึ่งเสี่ยงต่อการ เป็นโรคเบาหวาน รวมถึงอาการแทรกซ้อนของอวัยวะต่างๆได้ เช่น ตา ไตและระบบประสาท ที่หากปล่อยไว้นานอาจนำไปสู่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ต่อไปได้ ดังนั้นหากตรวจพบภาวะนี้ควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มี น้ำตาลสูง และหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคและภาวะดื้ออินซูลินแต่เนิ่นๆ
3. กินมากกว่าใช้ จนร่างกายเอาไปใช้ไม่ทัน
ในขณะที่เราหมั่นเติมความหวานให้ร่างกายอยู่ทุกวัน พร้อมนั่งจ้องไอเท็มสำคัญที่ขาดไม่ได้อย่างสมาร์ตโฟน หรือนั่งเล่นคอมที่โต๊ะเสียเป็นส่วนใหญ่จนแทบ ไม่ได้ขยับเขยื้อน เคลื่อนไหวร่างกาย จนน้ำตาลที่เก็บอยู่ตามกล้ามเนื้อแปรเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสม (Fat) ตามจุดต่างๆ จนเข้าสู่ภาวะโรคอ้วนได้
ลด-ไม่ลดน้ำตาลในเลือด ใครบ้างที่ต้องเช็ก?
นอกจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่มีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดแล้ว ความเครียด การออกกำลังกาย การมีรอบเดือน และการตั้งครรภ์ ยังเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดด้วยเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีวิธีเช็ก หรือตรวจวัดระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดได้โดยการเจาะเลือดอยู่หลายรูปแบบ ทั้งการตรวจแบบ Fasting Blood Sugar (FBS) หรือการตรวจระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือด (ปริมาณกลูโคส) หลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง และการตรวจแบบ Hemoglobin A1C (HbA1c) หรือการตรวจเม็ดเลือดที่มีน้ำตาลเข้าไปจับเคลือบผิว ย้อนหลังไปประมาณ 2-4 เดือน ซึ่งเป็นวิธีตรวจน้ำตาลที่อยู่ในเลือด ที่มีความน่าเชื่อถือสูง และหากพบว่ามีระดับน้ำตาลสะสมมากกว่า 6.5 mg% หมายถึงความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน ส่วนใครบ้างที่ควรเช็ก หรือควรเข้ารับการตรวจวัดระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดมากที่สุด ได้แก่
ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง
ผู้ที่มีค่าเฉลี่ยน้ำหนักเกินเกณฑ์ มาตรฐาน (BMI) หรือมีรูปร่างอ้วน
ผู้ที่มีระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง
ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัว เป็นโรคเบาหวาน
เพื่อดูแลระดับน้ำตาลที่อยู่ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ดีเป็นปกติอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปก็ควรตรวจเช็กระดับน้ำตาลด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่อาจรู้ได้เลยว่าประสิทธิภาพของร่างกายเป็นอย่างไร จนกว่าจะได้ตรวจเช็กร่างกายและป้องกันอย่างจริงจัง
เสริมทัพตัวช่วย เสริมการทำงานอินซูลิน!
ป้องกันไว้ดีกว่ารักษา ยังเป็นคำที่ใช้ได้ดีเสมอ โดยเฉพาะในสายสุขภาพที่ไม่ว่าใครก็ไม่ควรต้องลุ้นเป็นเจ้าของโรคภัย นอกจากการปรับไลฟ์สไตล์ให้มีความเสี่ยงน้อยลง ลดน้ำตาลด้วยการกำหนดความหวานให้ร่างกายจนเป็นนิสัยแล้ว การเสริมตัวช่วยที่เป็นประโยชน์ต่ออินซูลิน นับเป็นหนึ่งในทางเลือกในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี จากสารสกัดอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี (Indian Gooseberry) ที่ไม่ผ่านกระบวนการตกแต่งพันธุกรรม เพื่อคงประสิทธิภาพและสรรพคุณไว้อย่างครบถ้วนที่สุด
ทั้งยังปราศจากสารกลูเตนที่ก่อภูมิแพ้ ด้วยคุณสมบัติของกู๊ดส์เบอร์รีบวกกับกระบวนการพิเศษเหล่านี้ ทำให้อินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี (Indian Gooseberry) ได้รับการจดสิทธิบัตรถึง 8 ฉบับ และผ่านการศึกษาด้านงานวิจัยประสิทธิภาพอีกมากมาย ถือเป็นความโชคดีของคนยุคนี้ที่มีตัวช่วยดีๆ พร้อมเสริมร่างกายให้แข็งแรงต่อเนื่อง
*1. ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 5 คน โดยรับประทานอาหารที่มีพลังงาน 584 กิโลแคลอรี่ (คาร์โบไฮเดรต 91 กรัม น้ำตาล 60 กรัม) และอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี่ 1,000 มก. วัดค่าระดับน้ำตาลหลังทาน 2 ชม., 2. ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 33 คน รับประทานอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี่ วันละ 1,000 มก. เป็นเวลา 1 เดือน, 3. ทดสอบในอาสาสมัครจำนวน 80 คน รับประทานอินเดียน กู๊ดส์เบอร์รี่ วันละ 1,000 มก. เป็นเวลา 3 เดือน
สินค้าที่คุณอาจสนใจ
- ราคาสมาชิก
- 1,920 ฿
- ราคาปกติ
- 2,400 ฿
- ราคาสมาชิก
- 400 ฿
- ราคาปกติ
- 500 ฿
- ราคาสมาชิก
- 1,920 ฿
- ราคาปกติ
- 2,400 ฿
- ราคาสมาชิก
- 400 ฿
- ราคาปกติ
- 500 ฿